วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

week13

 สัปดาห์นี้เรียนเรื่่องการทำลิงค์ไปที่ URL ก็เป็นการเรียนที่ต่อยอดจากอาทิตย์ที่แล้ว และแนะนำเรื่องการทำรายงานกลุ่ม เกี่ยวกับเรื่องรูปแบบของรายงานที่จะต้องเสนออะไรบ้าง สุดท้ายไปคัดลอกอนุทินของเพื่อนๆที่ชอบมาดโชว์ในบล็อกของเรา  ทำเสดก้อ ลายตาครับ - -

week12

วันนี้ก็จะมา พูดเรื่องสัปดาห์นี้สอนเรื่องทำลิงค์ใน PowerPoit แล้วก็แต่งสีสันให้สวย เป็นรูปแบบที่เหมาะกบการใช้งานแบบให้สะดวกในการนำเสนอ

วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

weel11


การเขียนเรียงความ


             เรียงความ คือการใช้ศิลปะทางการเขียนร้อยแก้วแสดงความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ

และความเข้าใจของผู้เขียนอย่างสละสลวย       เรียงความจะต้องประกอบด้วยส่วนที่เป็นคำนำ 

 เนื้อเรื่อง  และสรุป 

เรียงความที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

               มีเอกภาพ คือ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน หมายความว่าไม่ให้เขียนนอกเรื่อง

               มีสัมพันธภาพ คือ ความสัมพันธ์กัน หมายถึง ข้อความแต่ละข้อความหรือแต่ละย่อหน้า

จะต้องมีสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องกัน

               มีสารัตถภาพ คือ การเน้นสาระสำคัญของย่อหน้าแต่ละย่อหน้า และของเรื่องทั้งหมด

โดยใช้ประโยคสั้น ๆ สรุปกินความทั้งหมด



ขอเพิ่มเติมเป็นการส่วนตัวค่ะ

                ก่อนเขียนเรียงความนั้นจะต้องตีโจทย์ให้แตกว่า ชื่อเรื่องที่เขาให้มานั้น หมายถึงอะไร

เกี่ยวโยงกับอะไร ข้อมูลที่จะเขียนลงไปนั้นต้องถูกต้องชัดเจน ดังนั้นผู้เขียนจะต้องรู้ชัดรู้จริง 


การเขียนคำนำ

         เป็นการเกริ่นเรื่อง ขอย้ำว่าแค่เกริ่นนะคะอย่าลึก ใช้คำโอบความหมายกว้างๆ เช่น

เรียงความเรื่องแม่ของฉัน      ควรกล่าวถึงแม่โดยทั่วไปก่อน เขียนให้กินใจ น่าอ่าน น่าติดตาม

แต่ยังไม่ควรเล่าว่า " แม่ของฉัน "เป็นอย่างไร



เนื้อเรื่อง


         เนื้อเรื่องเป็นส่วนที่มีใจความสำคัญ ประเด็นสำคัญตามห้วข้อ ดังนั้นจะต้องเขียนให้ละเอียด

ครอบคลุม ชัดเจน   เช่น เรื่องแม่ของฉัน ในย่อหน้าเนื้อเรื่องให้พรรณนาถึงพระคุณแม่

( เขียนในด้านบวก )



สรุป


         กลับไปอ่านคำนำและเนื้อเรื่องและสรุปจบให้ไปในทิศทางเดียวกัน ขอแนะนำว่า ควรให้

ข้อแนะนำ หรือแนวคิดดีๆ แล้วลงท้ายด้วยประโยคที่น่าสนใจ


          การเขียนเรียงความนั้นอาจจะขึ้นต้นย่อหน้าคำนำ หรือปิดท้ายในหัวข้อสรุป ด้วย กลอน

คติพจน์ วาทะ หรือคำขวัญ     เพื่อเพิ่มความน่าสนใจให้น่าติดตาม ( ถ้ายืมคำใครเขามาอย่าลืมอ้างอิง

นะคะ )     ภายในเรียงความควรประกอบด้วยโวหารหลายๆชนิด เพื่อให้ได้อรรถรสในการอ่าน  ขั้นตอน

ในการเตรียมตัวเขียน นอกจากจะต้องเตรียมข้อมูลจัดทำโครงเรื่องแล้ว ควรเลือกใช้สำนวนโวหารให้

เหมาะกับเนื้อความที่ จะเขียน สำนวนโวหารในภาษาไทย แบ่งออกเป็น ๕ คือ

๑) บรรยายโวหาร

๒) พรรณนาโวหาร

๓) เทศนาโวหาร

๔) สาธกโวหาร

๕) อุปมาโวหาร   

              ๑. บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์

การเขียนบรรยายโวหารจะมุ่งความชัดเจน เขียน ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่สาระสำคัญ

ไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือความปลีกย่อยเสริม ในการเขียนทั่ว ๆ ไปมักใช้บรรยายโวหาร เพราะ

เหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆ ได้ความชัดเจน


             ๒. พรรณนาโวหาร มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง

 ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณาโวหารจึง

ยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพ

และอารมณ์ ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มไป

สำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ


                ๓. เทศนาโวหาร หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตาม

หรืออาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่านคิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหาร

จึงยากกว่าโวหารที่กล่าว



               ๔.สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้ง

หรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร

 พรรณนาโวหาร

              ๕.อุปมาโวหาร หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบ

เพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่า

อุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร

พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือ

เปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมา โวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด 

               การเขียนเรียงความที่ดีนั้นควรตีกรอบความคิดของผู้เขียนเอาไว้อย่างชัดเจน  เพราะจะทำให้

งานเขียนไม่วกวน จนผู้อ่านเกิดความสับสนทางความคิด   และที่สำคัญเรียงความจะต้องใช้ภาษา

อย่างเป็นทางการ  อย่าใช้ภาษาพูดเป็นอันขาดเพราะจะทำให้งานเขียนขาดความน่าเชื่อถือ

week10

การอ่าน

การอ่าน คือ การรับรู้ความหมายจากถ้อยคำที่ตีพิมพ์อยู่ในสิ่งพิมพ์หรือในหนังสือ เป็นการรับรู้ว่าผู้เขียนคิดอะไรและพูดอะไร โดยเริ่มต้นทำความเข้าใจถ้อยคำแต่ละคำเข้าใจวลี เข้าใจประโยค ซึ่งรวมอยู่ในย่อหน้า เข้าใจแต่ละย่อหน้า ซึ่งรวมเป็นเรื่องราวเดียวกันการอ่านเป็นการบริโภคคำที่ถูกเขียนออกมาเป็นตัวหนังสือหรือสัญลักษณ์ การอ่านโดยหลักวิทยาศาสตร์ เริ่มจากการที่แสงตกกระทบที่สื่อ และสะท้อนจากตัวหนังสือผ่านทางเลนส์นัยน์ตา และประสาทตาเข้าสู่เซลล์สมองไปเป็นความคิด (Idea) ความรับรู้ (Perception) และก่อให้เกิดความจำ (Memory) ทั้งความจำระยะสั้น และความจำระยะยาว

กระบวนการอ่าน มี 4 ขั้นตอน คือ ขั้นแรก การอ่านออก อ่านได้ หรืออ่านออกเสียงได้ถูกต้อง ขั้นที่สองการอ่านแล้วเข้าใจ ความหมายของคำ วลี ประโยค สรุปความได้ ขั้นที่สามการอ่านแล้วรู้จักใช้ความคิด วิเคราะห์ วิจารณ์และออกความเห็นในทางที่ขัดแย้งหรือเห็นด้วยกับผู้เขียนอย่างมีเหตุผล และขั้นสุดท้ายคือการอ่านเพื่อนำไปใช้ ประยุกต์ใช้ในเชิงสร้างสรรค์ ดังนั้นผู้ที่อ่านได้และอ่านเป็นจะต้องใช้กระบวนการทั้งหมดในการอ่านที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการถ่ายทอดความหมายจากตัวอักษรออกมาเป็นความคิด และจากการคิดที่ได้จากการอ่านผสมผสานกับประสบการณ์เดิม และสามารถความคิดนั้นไปใช้ประโยชน์ต่อไป


เนื้อหา

 1. คุณค่าของการอ่าน
 2. การเตรียมพร้อมเพื่อการอ่าน
 3. การเลือกสรรวัสดุการอ่าน
 4. การกำหนดจุดมุ่งหมายการอ่าน
 5. วิธีการอ่านที่เหมาะสม


คุณค่าของการอ่าน วัตถุประสงค์ในการอ่านของแต่ละบุคคลย่อมแตกต่างกันออกไป เช่น อ่านเพื่อความรู้ อ่านเพื่อให้เกิดความคิด อ่านเพื่อความเพลิดเพลิน อ่านเพื่อความจรรโลงใจ เป็นต้น ซึ่งผู้อ่านจำเป็นต้องทราบจุดมุ่งหมายของการอ่านนั้นๆ ไว้ก่อนการอ่านทุกครั้ง อย่างไรก็ตามการอ่านมีความสำคัญต่อชีวิตที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นการช่วยให้ได้รับข้อมูลข่าวสารเพื่อประกอบการตัดสินใจในชีวิตประจำวัน การอ่านมีความจำเป็นต่อการศึกษาเล่าเรียน ทั้งในระบบและนอกระบบ คนที่เรียนหนังสือเก่งมักจะเป็นคนที่อ่านหนังสือเก่ง เพราะการอ่านช่วยให้ได้รับความรู้และความเข้าใจที่จะทำให้ประสบความสำเร็จ และสามารถศึกษาต่อในระดับสูงได้ การอ่านมีคุณค่าต่อมนุษย์ เนื่องจากเป็นการสนองความต้องการของมนุษย์ ทำให้มนุษย์เกิดความรู้ ยกระดับสติปัญญาให้สูงขึ้น ทำให้มนุษย์เกิดความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาความคิดให้ก้าวหน้า ส่งผลต่อการพัฒนาในอาชีพ ทำให้มนุษย์ทันต่อเหตุการณ์ ได้รับความรู้เพิ่ม ช่วยอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน ช่วยให้มนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ และสามารถดำรงชีวิตในสังคมได้ ช่วยพัฒนาจิตใจให้งอกงาม ช่วยขจัดความทุกข์ ความเศร้าหมอง การอ่านทำให้เกิดความเข้าใจ ความร่วมมือในการอยู่ร่วมกันในสังคม เป็นการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ได้รับความเพลิดเพลินและพักผ่อนหย่อนใจ


การเตรียมพร้อมเพื่อการอ่าน
การอ่านจะดำเนินไปได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ และองค์ประกอบที่อยู่ภายในร่างกาย การอ่านท่ามกลางบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม จะนำมาซึ่งประสิทธิและประสิทธิผลในการอ่าน ทั้งนี้ควรคำนึงถึง
  1. การจัดสถานที่และสิ่งแวดล้อม สถานที่ที่เหมาะกับการอ่านควรมีความเงียบสงบ ตัดสิ่งต่างๆ ที่รบกวนสมาธิออกไป มีอุณหภูมิและแสงสว่างที่เหมาะสม มีโต๊ะที่มีความสูงพอเหมาะและเก้าอี้ที่นั่งสบายไม่นุ่มหรือแข็งจนเกินไป
  2. การจัดท่าของการอ่าน ตำแหน่งของหนังสือควรอยู่ห่างประมาณ 35-45 เซนติเมตร และหน้าหนังสือจะต้องตรงอยู่กลางสายตา ควรนั่งให้หลังตรงไม่ควรนอนอ่าน ทั้งนี้เพื่อให้สมองได้รับเลือดไปหล่อเลี้ยงอย่างเต็มที่ ก็จะทำให้เกิดการตื่นตัวต่อการรับรู้ จดจำ และอ่านได้นาน
  3. การจัดอุปกรณ์ช่วยในการอ่าน การอ่านอาจมีอุปกรณ์ที่จำเป็น เช่น กระดาษสำหรับบันทึกดินสอ ปากกา ดินสอสี
  4. การจัดเวลาที่เหมาะสม สำหรับนักศึกษาที่ต้องมีการทบทวนบทเรียนควรอ่านหนังสือในช่วงที่เหมาะสมคือช่วงที่ที่ไม่ดึกมาก คือ ตั้งแต่ 20.00 - 23.00 น. เนื่องจากร่างกายยังไม่อ่อนล้าเกินไปนัก หรืออ่านในตอนเช้า 5.00-6.30 น. หลังจากที่ร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ ทั้งนี้ในการอ่านแต่ละครั้งไม่ควรเกิน 50 นาทีและให้เปลี่ยนแปลงอิริยาบถสัก 10 นาทีก่อนลงมืออ่านต่อไป
  5. การเตรียมตนเอง ได้แก่ การทำจิตใจให้แจ่มใส มีความมุ่งมั่น มีความตั้งใจ และมีสมาธิในการอ่าน นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ มีสุขภาพสายตาที่ดี ตัดปัญหารบกวนจิตใจให้หมด การแบ่งเวลาให้ถูกต้อง และมีระเบียบวินัยในชีวิตโดยให้เวลาแต่ละวันฝึกอ่านหนังสือ และพยายามฝึกทักษะใหม่ๆ ในการอ่าน เช่น ทักษะการอ่านเร็วอย่างเข้าใจ เป็นต้น
การเลือกสรรวัสดุการอ่านการเลือกสรรวัสดุการอ่าน ขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการอ่าน เช่น การอ่านเพื่อการศึกษา การอ่านเพื่อหาข้อมูลประกอบการทำงาน การอ่านเพื่อความเพลิดเพลิน การอ่านเพื่อฆ่าเวลา การรู้จักเลือกวัสดุการอ่านที่มีประโยชน์จะช่วยให้ผู้อ่านได้รับประโยชน์ตามเป้าหมาย การเลือกสรรวัสดุการอ่านมีความสัมพันธ์กับการเลือกใช้ทรัพยากรสารนิเทศในห้องสมุด เช่น
  1. การอ่านเพื่อความรู้ เช่น ตำราวิชาการ
  2. การอ่านเพื่อความบันเทิงใจ
  3. การอ่านเพื่อเป็นกำลังใจ เสริมสร้างปัญญา เช่น หนังสือจิตวิทยา หนังสือธรรมะ
  4. การอ่านเพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
เมื่อเลือกวัสดุการอ่านหรือหนังสือได้แล้ว ก็จะต้องกำหนดว่าต้องการอะไรข้อมูลในลักษณะใดจากหนังสือเล่มนั้น ขอบเขตของข้อมูลในลักษณะกว้างหรือแคบแต่ลึกซึ้ง ทั้งนี้เพื่อกำหนดรูปแบบการอ่านเพื่อความต้องการต่อไป


การกำหนดจุดมุ่งหมายการอ่าน
การรู้ความมุ่งหมายในการอ่านเปรียบเหมือนการรู้จุดหมายปลายทางของการเดินทาง ทำให้สามารถเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์ต่างๆ และเดินทางไปสู่ที่หมายได้ นักอ่านที่ดีควรมีจุดมุ่งหมายว่าต้องการอ่านเพื่ออะไร เพื่อจะได้กำหนดวิธีอ่านได้เหมาะสม การอ่านเพื่อการศึกษาค้นคว้าและทำรายงาน มีจุดมุ่งหมายดังนี้
1. อ่านเพื่อความรู้พื้นฐาน เป็นการอ่านเพื่อรู้เรื่องโดยสังเขป หรือเพื่อลักษณะของหนังสือ เช่น การอ่านเพื่อ รวบรวมสิ่งพิมพ์ที่จะใช้ในการค้นคว้าและเขียนรายงาน
2. อ่านเพื่อรวบรวมข้อมูล เป็นการอ่านให้เข้าในเนื้อหาสาระ และจัดลำดับความคิดได้ เพื่อสามารถรวบรวม และบันทึกข้อมูลสำหรับเขียนรายงาน
3. อ่านเพื่อหาแนวคิด หมายถึง การอ่านเพื่อรู้ว่าสิ่งที่อ่านนั้นมีแนวคิดหรือสาระสำคัญอย่างไร จะนำไปใช้ประโยชน์ได้หรือไม่ ในลักษณะใด เช่น การอ่านบทความ และสารคดีเพื่อหาหัวข้อสำหรับเขียนโครงร่างรายงาน
4. อ่านเพื่อวิเคราะห์หรือวิจารณ์ คือการอ่านเพื่อให้เข้าใจลึกซึ้งพอที่จะนำความรู้ไปใช้ หรือแสดงข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ เรื่องที่อ่านได้ เช่น การอ่านบทความที่แสดงความคิดเห็น การอ่านตารางและรายงาน


วิธีการอ่านที่เหมาะสมการอ่านมีหลายระดับและมีวิธีการต่างๆ ตามความมุ่งหมายของผู้อ่าน และประเภทของสื่อการอ่าน การอ่านเพื่อการศึกษา ค้นคว้าและเขียนรายงาน อาจใช้วิธีอ่านต่าง ๆ เช่น การอ่านสำรวจ การอ่านข้าม การอ่านผ่าน การอ่านจับประเด็น การอ่านสรุปความ และการอ่านวิเคราะห์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
  1. การอ่านสำรวจ คือ การอ่านข้อเขียนอย่างรวดเร็ว เพื่อรู้ลักษณะโครงสร้างของข้อเขียน สำนวนภาษา เนื้อเรื่องโดยสังเขป เป็นวิธีอ่านที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการเลือกสรรสิ่งพิมพ์ สำหรับใช้ประกอบการค้นคว้า หรือการหาแนวเรื่องสำหรับเขียนรายงาน และรวบรวมบรรณานุกรมในหัวข้อที่เขียนรายงาน
  2. การอ่านข้าม เป็นวิธีอ่านอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าใจเนื้อหาของข้อเขียน โดยเลือกอ่านข้อความบางตอน เช่น การอ่านคำนำ สาระสังเขป บทสรุป และการอ่านเนื้อหาเฉพาะตอนที่ตรงกับความต้องการ เป็นต้น
  3. การอ่านผ่าน เป็นการอ่านแบบกวาดสายตา (Scanning Reading) โดยผู้อ่านจะทำการกวาดสายตาอย่างรวดเร็วไปยังสิ่งที่เป็นเป้าหมายในข้อเขียน เช่น คำสำคัญ ตัวอักษร หรือ สัญลักษณ์ แล้วอ่านรายละเอียดเฉพาะที่เกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการ เช่น การอ่านเพื่อค้นหาชื่อในพจนานุกรม และการอ่านแผนที่
  4. การอ่านจับประเด็น หมายถึง การอ่านเรื่องหรือข้อเขียนโดยทำความเข้าใจสาระสำคัญในขณะที่อ่าน มักใช้ในการอ่านข้อเขียนที่ไม่ยาวนัก เช่น บทความ การอ่านเร็วๆ หลายครั้งจะช่วยให้จับประเด็นได้ โดยการอ่านมีเทคนิคคือ ต้องสังเกตคำสำคัญ ประโยคสำคัญที่มีคำสำคัญ และทำการย่อสรุปบันทึกประโยคสำคัญไว้ เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
  5. การอ่านสรุปความ หมายถึง การอ่านโดยสามารถตีความหมายสิ่งที่อ่านได้ถูกต้องชัดเจนเข้าใจเรื่องอย่างดี สามารถแยกส่วนที่สำคัญหรือไม่สำคัญออกจากกัน รู้ว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง หรือข้อคิดเห็น ส่วนใดเป็นความคิดหลัก ความคิดรอง การอ่านสรุป ความมีสองลักษณะคือ การสรุปแต่ละย่อหน้าหรือแต่ละตอน และสรุปจากทั้งเรื่อง หรือทั้งบท การอ่านสรุปความควรอย่างอย่างคร่าว ๆ ครั้งหนึ่งพอให้รู้เรื่อง แล้วอ่านละเอียดอีกครั้งเพื่อเข้าใจเรื่องอย่างดี หลักจากนั้นตั้งคำถามตนเองในเรื่องที่อ่านว่าเกี่ยวกับอะไร มีเรื่องราวอย่างไร แล้วเรียบเรียงเนื้อหาเป็นสำนวนภาษาของผู้สรุป
  6. การอ่านวิเคราะห์ การอ่านเพื่อค้นคว้าและเขียนรายงานโดยทั่วไปต้องมีการวิเคราะห์ความหมายของข้อความ ทั้งนี้เพราะผู้เขียนอาจใช้คำและสำนวนภาษาในลักษณะต่าง ๆ อาจเป็นภาษาโดยตรงมีความชัดเจนเข้าใจง่าย ภาษาโดยนัยที่ต้องทำความเข้าใจ และภาษาที่มีความหมายตามอารมณ์และความรู้สึกของผู้เขียน ผู้อ่านที่มีความรู้เรื่องคำศัพท์และสำนวนภาษาดี มีประสบการณ์ ในการ อ่านมากและมีสมาธิในการอ่านดี ย่อมสามารถวิเคราะห์ได้ตรงความหมายที่ผู้เขียนต้องการสื่อ และสามารถเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ดี
ที่มา: http://www.thaijustice.com/webboard.asp?sub=0&id=644506

week9


อูคูเลเล่ Ukulele

Ukulele มีขนาดมาตราฐานอยู่ทั้งหมด 4 ขนาด โดยขนาดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด คือ Tenor, Soprano และ Concert ตามลำดับครับ สำหรับขนาด Soprano, Concert และ Tenor มีวิธีเล่นเหมือนกัน โดยมีการจูนเสียงที่เป็นมาตราฐานสากลทั่วโลก เรียกว่า C tuning ก็คือจูนแบบ GCEA ไล่ลงมาตั้งแต่สายที่ 4(บนสุด) ลงไป สายที่1 (ล่างสุด) ดูวีธีการจูนได้ที่ หน้าตั้งเสียง http://www.ukulelethai.com/ukulele/ukulele-tuning.html
ส่วนขนาด Baritone จะมีการจูนเสียงที่แตกต่างไปจากขนาดอื่นๆ คือ จูนเหมือน 4สายล่างของ กีตาร์ธรรมดา คือ DGBE ซึ่งก็หมายถึง เวลาเราจะจับคอร์ด ก็ต้องจับแตกต่างไปจาก Soprano, Concert และ Tenor ทำให้ ไม่ค่อยเป็นที่นิยมกัน แต่ก็เริ่มมีผู้ผลิตสาย ukulele หลายราย เริ่มทำสายที่จูนแบบ GCEA สำหรับ ukulele ขนาด Baritone ขึ้นมา แต่ก็ยังไม่ค่อยไ้ด้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากเสน่ห์ของ ukulele ก็คือ ความเล็ก ที่คุณภาพไม่เล็ก ของมัน แต่เจ้า Baritone นี่ มีขนาดใหญ่สุด ทำให้ได้เสียงที่ใหญ่ๆทุ้มๆ คล้ายกีตาร์เกินไป คนก็เลยยังไม่นิยมกัน
Soprano UkuleleSoprano มีขนาดความยาวประมาณ 21 นิ้ว มีจำนวน fret ขนาดมาตราฐานที่ 12 frets ซึ่งจะเป็นจำนวน fret จาก nut ถึงตัว body ที่ 12 frets จูนสายเป็น GCEA โดยถือเป็นขนาดมาตราฐานแท้ๆ ดั้งเดิมของ ukulele ในบางรุ่นก็มีจำนวน fret มากขึ้นเป็น 14 frets หรือมากกว่า แต่จะเป็น fret ที่เพิ่มเข้ามาอยู่บริเวณตัว body แต่ก็ยังมี ukulele บางรุ่น ที่ใช้ตัว body เป็นขนาด soprano แต่ใช้ fingerboard เป็น Concert scale แทน เพื่อเพิ่มจำนวน frets ให้มากขึ้น โดยจะเรียกว่า Super Soprano นอกจากนี้ก็มี บางรุ่นที่ใช้ body เป็น soprano แต่ใช้ fingerboard เป็น tenor scale เช่น Ohana SK-30L Longneck
นักดนตรีที่ใช้ Soprano ขนาดมาตราฐาน เช่น Ohta-san ใช้เล่นเพลง Hawaii
Concert UkuleleConcert มีขนาดใหญ่ขึ้นมาอีกนิดนึง โดยมีความยาวประมาณ 23 นิ้ว จูนสายเป็น GCEA มีขนาด fingerboard ที่ใหญ่ขึ้นมาอีกนิดเช่นกัน โดยจะมีประมาณ 14 ถึง 17 frets ซึ่งจะเป็นจำนวน fret จาก nut ถึงตัว body ที่ 14 frets และบางรุ่นอาจมี fret มากกว่า แต่ก็จะเพิ่มเข้ามาในส่วนของตัว body
Tenor UkuleleTenor มีขนาดใหญ่กว่า concert โดยมีความยาวประมาณ 26 นิ้ว จุนสายเป็น GCEA หรือบางคน จูนเป็น gCEA คือให้สายที่ 4 มีเสียงเป็น G ต่ำ (Low G) มีจำนวน fret ประมาณ 17 ถึง 19 frets โดยจะเป็นจำนวน fret จาก nut ถึงตัว body ที่ 14 frets เหมือนกัน fret ที่เพิ่มเข้ามาจะอยู่ในส่วนของตัว body ผู้ที่เล่นกีตาร์อยู่แล้ว จะชื่นชอบ ukulele ขนาดนี้ เนื่องจากขนาดเสียงที่ใกล้เคียงกีตาร์ และ fingerboard ที่สามารถรองรับ การเล่นตัวโน็ตต่างๆ และการเล่นที่หลากหลาย นักดนตรีที่มืชื่อเสียง เช่น
Jake Shimabukuro ก็ใช้ tenor ในการเล่นเพลง While my guitar gently weeps และ Israel Kamakawiwo'Ole กับเพลง Somewhere Over The Rainbow
Baritone UkuleleBaritone เป็น ukulele ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีความยาวประมาณ 30 นิ้ว มีจำนวน fret ประมาณ 19 ถึง 21 frets จูนสายเหมือนกับ 4 สายล่างของกีตาร์ เป็น DGBE จีงทำให้มีรูปแบบในการจับคอร์ด และตัวโน็ต ที่ต่างออกไปจาก ukulele ขนาดอื่นๆ
Ukulele Anatomy
Guitar VS Soprano Ukulele

จับกีตาร์ มาเทียบถ่ายรูปคู่กันให้เห็นชัดๆ กันถึงขนาดเลยครับ Ukulele ขนาด Soprano 2 ตัว รวมกันยาวกว่ากีตาร์แค่นิดหน่อยเองครับ

Ukulele ตัวบนขนาด Soprano สีม่วงครับ ส่วนตัวล่างนี่ ก็ขนาด Soprano เช่นกัน เปรียบเทียบกับกีตาร์ ยี่ห้อ Yamaha รุ่น APX-4

Ohana Ukuleleukulele-info

week8

ความรู้การเล่นกีต้า

ความรู้เบื้องต้นสำหรับเล่นกีตาร์


     ในส่วนนี้เราจะมากล่าวถึงความรู้เบื้องต้นต่าง ๆ เช่นกีตาร์ทำงานอย่างไร เวลาเล่นเขาเล่นกันยังไง สำหรับผู้ที่เริ่มเล่นใหม่ ๆ น่าจะศึกษาส่วนนี้ด้วยนะครับ จะได้เป็นพื้นฐานเพื่อไปปรับใช้ให้เหมาะกับตัวคุณเอง ซึ่งจะประกอบด้วย
                  - การใช้งานมือซ้าย
                  - การใช้งานมือขวา
                  - การเรียกชื่อคอร์ด
                  - คอร์ดทาบ
      
     1.ที่มาหรือหลักการของเสียงกีตาร์
            พวกเราคงจะเคยเล่นดีดหนังยางกันมาบ้างนะครับ เพื่อน ๆ เคยสังเกตไหมครับเวลาเราดึงหนังยางให้ยืดออก แล้วถ้าเอามือไปดีดหนังยางจะสั่นและเกิดเสียง(แต่เบามาก) หรือแม้แต่เส้นด้ายหรือเชือกที่ถูกยึดปลายดึงจนตึงเมื่อถูกดีดก็จะสามารถเกิดเสียงได้เช่นกัน ทั้งหมดนั้นอาศัยหลักการของการเปลี่ยนแปลงพลังงานตามหลักวิทยาศาสตร์นั่นเอง คือเมื่อวัตถุเกิดการสั่นด้วยความถี่ค่าหนึ่ง ความถี่นั้นก็จะกลายเป็นคลื่นเสียงได้ ที่กล่าวมาเป็นหลักคร่าว ๆ แค่พอรู้ครับ
            สำหรับกีตาร์ก็คือการนำสายลวดซึ่งมีขนาดแตกต่างกันมาขึงยึดหัวท้ายไว้ ด้วยความตึงต่าง ๆ กัน ซึ่งความตึง, ขนาดที่ต่างกัน รวมถึงความสั้น-ยาวของสายกีต้าร์นั่นเองจะมีผลต่อระดับเสียงที่เกิดขึ้นได้แก่
            - สายที่ตึงกว่าจะให้เสียงที่มีระดับสูงกว่าสายที่หย่อนกว่า
            - สายที่มีขนาดใหญ่กว่าจะให้เสียงที่มีระดับต่ำหรือทุ้มกว่าสายที่มีขนาดเล็กกว่า
            - สายที่สั้นกว่าจะมีระดับเสียงที่สูงกว่าสายที่ยาวกว่า
            ทั้ง 3 ข้อนั้นเป็นหลักเบื้องต้นในการทำงานของกีตาร์นั่นเอง ดังนั้นกีตาร์มีสาย 6 ขนาด จะให้ระดับเสียงต่างกัน 6 เสียง และมีเฟร็ตกีตาร์ตั้งแต่ประมาณ 20-24 อัน ซึ่งเป็นการจำกัดความสั้นยาวของสายกีตาร์ (เมื่อกดที่เฟร็ตสายจะถูกจำกัดความยาวเหลือจากเฟร็ตที่กด ไปถึง สะพานสาย เช่นเมื่อคุณกดช่อง 12 ของสายใดก็ได้ก็คือคุณได้ทำให้สายนั้นเหลือความยาวเพียงครึ่งเดียวเนื่องจากระยะระหว่างนัทจนถึงเฟร็ต 12 และระยะจาก เฟร็ต 12 ถึง สะพานสายนั้นมีระยะเท่ากัน จากผลดังกล่าวเมื่อคุณกดช่อง 12จะทำให้ได้เสียงกีตาร์สูงขึ้น 1 เท่า ของสายที่ไม่ได้กดช่อง 12 หรือทางดนตรีเรียกว่า 1 octave) ก็จะได้ความแตกต่างของเสียงในแต่ละเส้นอีก 20 - 24 เสียง ดังนั้นบนคอกีตาร์จะมีเสียงทั้งหมด 120 - 144 เสียง ไม่รวมเสียง ฮาร์โมนิคหรือเทคนิคอื่น ๆ ซึ่งก็เพียงพอที่จะใหเคุณสร้างสรรค์ดนตรีได้ไม่มีสิ้นสุด
            สำหรับความตึงหย่อนนั้นอาจเห็นเป็นรูปธรรมได้เช่นการดันสาย การตั้งสายเปิดแบบต่าง ๆ รวมถึงการเล่นคันโยก ล้วนแต่อาศัยความตึงหรือหย่อนของสายกีตาร์เพื่อสร้างเสียงระดับต่าง ๆ
str-vb.gif (6854 bytes)
            **** สรุป หลักการของกีตาร์คือการสั่นของสายที่ทำให้เกิดเสียง และความแตกต่างของเสียงอันเนื่องมาจากขนาด ความสั้นยาว และความตึงของสายนั่นเอง
     2. หลักการเล่นกีตาร์เบื้องต้น
          2.1 การจัดทางทางการเล่นกีตาร์แบบต่าง ๆ
                คงจะไม่มีข้อกำหนดตายตัวอะไรในเรื่องของการจัดท่าทางการเล่นกีตารว่าต้องเล่นท่านั้นท่านี้ ซึ่งคุณอาจจะเห็นมาแล้วทั้งนั่ง ยืน วิ่ง กระโดด จนกระทั่งนอนเล่น (ท่าประหลาด ๆ มักพบกับดนตรีร็อคซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ถือว่าประหลาดแต่ว่ามันส์ต่างหาก) ดังนั้นผมคิดว่าขึ้นอยู่กับเวลา สถานที่ ความเหมาะสมและอารมณ์ต่างหาก แต่ผมจะแบ่งให้ทราบเพียงคร่าว ๆ เพื่อประดับความรู้เท่านั้นส่วนจะชอบแบบไหนแล้วแต่ถนัดครับ
            1. การนั่งเล่น ส่วนใหญ่จะเป็นกีตาร์คลาสสิก ฟลาเมนโก้ แจ๊ส หรือ ดนตรีประเภทอาคูสติกที่มีรายละเอียดในการเล่นมากจึงไม่สะดวกในการยืนเล่นโดยเฉพาะการเล่นกีตาร์คลาสสิกหรือฟลาเมนโก้จะมีท่าเฉพาะที่เป็นรูปแบบในการเล่นต่างหาก ซึ่งอาจจะวางกีตาร์บนหน้าขาขวาหรือซ้ายเช่นรูปแรกเป็นแบบคลาสสิก รูปที่ 2 และ 3 เป็นการนั่งเล่นกีตาร์โฟล์คทั่ว ๆ ไป รูปที่ 4เป็นแบบฟลาเมนโก้ เป็นต้น


            2. การยืนเล่น บนเวทีแสดงทั่ว ๆ การยืนเล่นก็เป็นที่นิยมโดยเฉพาะเพลงประเภท pop rock หรือเพลง folk country เป็นต้น เนื่องจากมีอิสระในการเล่นมากกว่าดังรูปข้างล่างนี้

          2.2 การใช้งานมือซ้าย
lhand.gif (4017 bytes)
                ในที่นี้จะหมายถึงผู้ที่ถนัดขวานะครับถ้าถนัดซ้ายก็จะตรงกันข้าม สำหรับหน้าที่หลักของมือซ้ายก็คือการจับคอร์ด การให้ระดับเสียงของโน๊ตดนตรี(ด้วยการกดนิ้วไปแต่ละเฟร็ต) ซึ่งเราจะใช้นิ้วทั้ง 5 เพื่อช่วยในการเล่นกีตาร์ เช่นการจับคอร์ด ลี๊ดเป็นต้น ...ถึงตรงนี้บางคนอาจสงสัยว่า   เอ...ใช้นิ้วโป้งด้วยหรือ ใช้ยังไงล่ะ ...ก็ขอตอบว่าใช้ครับในบางกรณี โดยเฉพาะเพลงในแบบ ฟิงเกอร์ สไตล์(สไตล์นิ้วหรือเกานั่นแหล่ะครับ) หรือการจับคอร์ดบาร์(bar chord) หรือคอร์ดทาบ นิ้วโป้งมีประโยชน์มาก ซึ่งผมจะกล่าวรายละเอียดในขั้นต่อไป นอกจากใช้จับคอร์ด ใช้ลี๊ดแล้ว ยังรวมถึงการเล่นเทคนิคต่าง ๆ เช่นการดันสาย สไลด์ hammer on pull off หรือทำเสียงบอด(mute) เป็นต้น
                การดูแลรักษามือซ้ายนั้นไม่ควรจะไว้เล็บให้ยาวเกินนิ้วออกมาเพราะจะเป็นอุปสรรคกับการกดนิ้วบนคอกีตาร์แน่นอน และยังจะทำให้เจ็บนิ้วอีกด้วย และพยายามอย่าไปกังวลกับหนังที่ปลายนิ้วที่มันจะแข็งขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อคุณเล่นกีตาร์บ่อย ๆ เดี่ยวมันก็ลอกไปเองครับ...
                                                           
          2.3 การใช้งานมือขวาrhand.gif (5246 bytes)
                     สำหรับมือขวาในการเล่นกีตาร์จะมีหน้าที่ทำให้เกิดเสียงไม่ว่าด้วยการดีดด้วยนิ้วหรือการเกา การดีดด้วยปิคล้วนแต่ควบคุมด้วยมือขวาทั้งนั้น โดยหน้าที่ของแต่ละนิ้วนั้นสรุปคร่าว ๆ ได้แก่ ถ้าจับปิคดีดจะจับด้วยนิ้วชี้และนิ้วโป้ง แต่ถ้าคุณเล่นเกาแล้ว นิ้วโป้งจะมีหน้าที่ควบคุมเสียงเบส(หมายถึง 3 เส้นบน)เป็นส่วนมาก และนิ้วชี้ กลาง และนิ้วนาง จะควบคุม 3 สาย ล่างเป็นหลัก ส่วนนิ้วก้อยนั้นถึงแม้ไม่มีส่วนในการดีด แต่บางคนก็มักใช้นิ้วก้อยยันกับตัวกีตาร์เวลาเกา นอกจากนี้ยังใช้ประโยชน์ในการเล่นกีตาร์ลี๊ดเช่นการใช้บังคับคันโยก การปรับปุ่ม tone หรือ volume เวลาลี๊ดกีตาร์ไฟฟ้า(เทคนิคดังกล่าวจะพูดในภายหลังนะครับ) นอกจากส่วนของนิ้วมือแล้ว สันมือก็ใช้ในการทำเสียงบอด(mute) ได้เช่นกันซึ่งจะได้กล่าวในเรื่องของการใช้เทคนิคมือขวาต่อไป
                การดูแลโดยทั่วไปสำหรับมือขวานะครับคือไม่ควรไว้เล็บยาวจนเกินไปโดยเฉพาะ นิ้วชี้ ,กลาง และนิ้วนางเพราะจะทำให้ดีดสายกีตาร์หรือแม้แต่จับปิคได้ไม่สะดวก แต่อาจไว้เล็บพอประมาณเพื่อใช้เกากีตาร์
                สำหรับผู้ที่ถนัดซ้ายนั้นการเล่นก็จะกลับกับคนถนัดขวาคือ มือซ้ายจะใช้ดีด แต่มือขวาจะมาจับคอร์ดแทน ซึ่งกีตาร์สำหรับคนถนัดซ้ายนั้นก็มีขายนะครับ แต่ถ้ามันหายากนักผมว่าก็ใช้กีตาร์ของแบบถนัดขวา(แต่พยายามอย่าเลือกแบบคอเว้า หรือมีปิคการ์ดด้านล่างนะครับ) แล้วก็ใส่สายใหม่โดยกลับสายจากสายบนสุด ไปใส่ล่างสุดแทนก็ได้ แต่ก็มีนะครับนักกีตาร์มีซ้ายที่ใช้กีตาร์แบบเล่นมือขวามากลับพลิกแล้วเล่นเลยไม่ต้องเปลี่ยนสงเปลี่ยนสายให้เสียเวลา ดังนั้นสาย 1 จะมาอยู่บน สาย 6 จะไปอยู่ล่าง เช่น นักกีตาร์โฟล์คหญิงที่ชื่อ Elizabeth Cotten แต่ผมก็ไม่รู้นะครับว่าเค้าเล่นยังไงเคยฟังแต่เพลงเค้าเก่งจริง ๆ ครับและก็ยังมีอีกเป็นนักกีตาร์บลูส์แต่ผมลืมชื่อไปแล้ว ดังนั้นคนที่ถนัดซ้ายไม่ใช่เรื่องแปลกอะไรผมว่าเท่ซะอีก และนักกีตาร์มือซ้ายที่โด่งดังเช่น jimi hendrix สุดยอดคนหนึ่งของวงการกีตาร์และ kurt cobain แห่ง nirvana ผู้ล่วงลับ เป็นต้น
     3. รู้จักคอร์ดเบื้องต้ คอร์ด คำนี้ทุกคนรู้จักดีอยู่แล้วแต่คุณเข้าใจมันมากแค่ไหน คอร์ดคืออะไร หมายถึงอะไรเป็นต้น บางคนรู้จักเพียงแค่คอร์ดก็คือกดสายกีตาร์เส้นต่าง ๆ ที่ช่องต่าง ๆ ตามรูปบอกแค่นั้น เอาล่ะครับเราจะมารู้จักคำว่า "คอร์ด" กันมากขึ้น
        คอร์ด คือกลุ่มของตัวโน๊ตตั้งแต่ 3 ตัวขึ้นไป ซึ่งถ้าเราจะถามว่ามีคอร์ดกีตาร์ทั้งหมดกี่คอร์ดในโลกนี้ คงจะไม่มีใครตอบได้เนื่องจากเราสามารถสร้างคอร์ดได้มากมายเหลือเกินแล้วแต่ผู้ประพันธ์แต่ละคน แต่เราก็สามารถจำแนกคอร์ดให้เป็นประเภทต่าง ๆ ที่สำคัญและพบบ่อย ๆ ได้ เช่น คอร์ดเมเจอร์(major), คอร์ดไมเนอร์(minor) และคอร์ดเซเว่น(7) เป็นต้น คราวนี้เราจะมารู้จักการเรียกชื่อคอร์ดแต่ละประเภท
คอร์ด
การเรียกชื่อ(สากล)
การเรียกชื่อ(ชาวบ้าน)
%mojorเรียกแต่ชื่อคอร์ด (เช่นคอร์ดซีเมเจอร์ เรียกคอร์ดซี)
%mminorไมเนอร์
%7seventhเซเว่น (เจ็ด)
%m7minor seventhไมเนอร์ เซเว่น (หรือไมเนอร์ เจ็ด)
%6sixthซิก (หก)
%m6minor sixthไมเนอร์ ซิก (หรือไมเนอร์ หก)
%dimdiminishedดิม
%+augmentedออกเมนเต็ด (บวก)
%7sus4seventh suspension fourเซเว่น ซัส โฟ
%sussuspensionซัส
%7+5seventh augmented fifthเซเว่น ออกเมนเต็ด ไฟว์
%7-5seventh flat fiveเซเว่น แฟล็ท ไฟว์
%7-9seventh flat nineเซเว่น แฟล็ท ไนน์
%maj7mojor seventhเมเจอร์ เซเว่น
%m7-5minor seventh flat fiveไมเอนร์ เซเว่น แฟล็ท ไฟว์
%9ninthไนน์ (เก้า)
%m9minor ninthไมเนอร์ ไนน์ (ไมเนอร์ เก้า)
%9+5ninth augmented fifthไนน์ อ๊อกเมนเต็ด ฟิฟท์
%9-5ninth flat fiveไนน์ แฟล็ท ไฟว์
%maj9major ninthเมเจอร์ ไนน์
%11eleventhอีเลฟเว่น (สิบเอ็ด)
%11+eleventh augmentedอีเลฟเว่น อ๊อกเมนเต็ด (สิบเอ็ด บวก)
%13thirteenthเธอทีน (สิบสาม)
%13b9thirteenth flat ninthเธอทีน แฟล็ท ไนน์
%
7
seventh sixthเซเว่น ซิก
6
%
9
ninth sixthไนน์ ซิก
6
%+7augmented seventhอ๊อกเมนเต็ด เซเว่น (บวก เจ็ด)
%dim7diminished seventhดิม เซเว่น (ดิม เจ็ด)
%m+7minor augmented seventhไมเนอร์ อ็อกเมนเต็ด เซเว่น
%13sus4thirteenth suspension fourเธอทีน ซัส โฟร์ (สิบสาม ซัส โฟ)
%m (add 9)minor add ninthไมเนอร์ แอ๊ด ไนน์
%(add 9)add ninthแอ๊ด ไนน์
%9susninth suspensionไนน์ ซัส
%
4fourth ninthโฟร์ ไนน์
9
%+11augmented eleventhอ็อกเมนเต็ด สิบเอ็ด
%7+9seventh augmented ninthเซเว่น อ็อกเมนเต็ด ไนน ์
%+4augmented fourthอ็อกเมนเต็ด โฟร์ (บวก สี่)
               เครื่องหมาย % หมายถึงสัญญลักษณ์ต่าง คือ C, D, E, F, G, A และ B ซึ่งก็คือชื่อของโน็ตต่าง ๆ นั่นเอง เวลาเรียกก็เรียกชื่อโน็ตตามด้วยชื่อคอร์ด เช่น %m7 แทนด้วย Am7 อ่านว่า เอ ไมเนอร์ เซเว่น หรือ เอ ไมเนอร์ เจ็ด ซึ่งตัวเลขนี้บางทีจะอ่านเป็นภาษาไทยก็ได้ แต่ผมแนะนำว่าควรอ่านให้เป็นสากลจะดีกว่า จะได้คุ้นเคย
                   สำหรับตอนนี้เรารู้จักคอร์ดแค่นี้ก่อนนะครับ ซึ่งโครงสร้างและรายละเอียดของคอร์ดผมจะกล่าวในส่วนต่อไป ตอนนี้เรามาดูในเรื่องของการจับคอร์ดและการวางนิ้วกันมั่งนะครับ ไม่มีกฎตายตัวที่บอกว่าต้องวางนิ้วแบบนั้นแบบนี้ สิ่งที่สำคัญก็คือการวางนิ้วให้ตรงตำแหน่งของโน๊ต และไม่ทำให้เกิดเสียงบอด สิ่งที่ผมอยากแนะนำสำหรับการฝึกจับคอร์ดก็คือ
                   การจับคอร์ดกีตาร์ ใช้มือที่จะจับคอร์ด กำหลวม ๆ ที่คอกีตาร์ในท่าที่ถนัด ใช้นิ้วโป้งเป็นนิ้วประคอง สำหรับบางคน(โดยเฉพาะคนที่เล่นกีตาร์คลาสสิก) อาจจะจับคอกีตาร์โดยใช้นิ้วโป้งยันกับคอกีตาร์(เช่นในรูป)แทนที่จะกำรอบคอ ให้นิ้วทั้งสี่โก่งและตั้งฉากกับฟิงเกอร์บอร์ดมากที่สุด (อาจจะเข้าใจยากนิดนึงลองฝึกดู) เพื่อไม่ให้นิ้วไปโดนสายอื่นทำให้เสียงบอด
l-hand.gif (5474 bytes)l-hand1.gif (5255 bytes)l-hand2.gif (4809 bytes)pick.gif (3857 bytes)
                    ส่วนที่กดสายกีตาร์คือส่วนปลายนิ้วทั้งสี่ และกดลงบนสายที่ระหว่างเฟร็ตหรือกลางช่อง หรือค่อนไปทางเฟร็ตตัวล่าง โดยที่นิ้วโป้งจะช่วยประคอง และช่วยเพิ่มแรงกดเวลาจับคอร์ดทาบ
                    การทาบ (bar) ก็คือการใช้นิ้วใดนิ้วหนึ่ง (ส่วนมากจะเป็นนิ้วชี้) ทาบสายกีตาร์ตั้งแต่สองสายขึ้นไป เราจะคุ้นเคยกับคำว่าคอร์ดทาบ (bar chord) เช่นคอร์ด F Bb เป็นต้น ซึ่งคอร์ดทาบนี้ค่อนข้างเป็นสิ่งน่ากลัวในความคิดของมือใหม่ เนื่องจากมักจะบอด จับยาก เมื่อยและเจ็บนิ้วด้วย แต่ไม่ต้องกลัวครับลองใช้นิ้วโป้งของคุณช่วยกดที่หลังคอกีตาร์ตรงกลางคอจะทำให้คุณมีแรงกดมากขึ้นครับ หรืออีกวิธีคือการใช้นิ้วอื่น(ที่ว่าง ไม่ได้กดเส้นใด ๆ ) มาช่วยกดทับอีกชั้นหนึ่งก็ช่วยได้มากครับ

     4. สไตล์รูปแบบ์ต่าง ๆ ของการเล่นกีตาร์ ต่อไปผมจะกล่าวถึงสไตล์การเล่นกีตาร์ในแบบต่าง ๆ เท่าที่ผมพอจะมีความรู้นะครับ สำหรับตัวผมเองแล้วผมชอบกีตาร์ในทุก ๆ สไตล์ฟังแล้วทำให้รู้จักกีตาร์ในแบบต่าง ๆ มากขึ้นโดยที่เราอาจจะรู้จักกีตาร์ในแบบต่าง ๆ เช่น แนวร็อค(รู้สึกเป็นที่สนใจในหมู่วัยรุ่นเพราะมันสะใจดี) แนวคลาสสิก , บลูส์ แจ๊ส ,โฟล์ค เป็นต้น
                    1. แนวคลาสสิก ถือเป็นแนวที่เก่าแก่ที่สุดของกีตาร์มัเล่นในหมู่ชนชั้นสูง(หมายถึงสมัยก่อน)มีรูปแบบการเล่นที่สวยงาม ท่วงทำนองไพเราะมากสามารถเล่นได้ทั้งริทึ่ม การเล่นโซโล การเล่นประสานได้ในตัวเดียว เพลงคลาสสิกจะถูกแต่งขึ้นอย่างปราณีต ดังนั้นจึงค่อนข้างจะยากสำหรับผู้ที่คิดจะหัดเอง เนื่องจากต้องสามารถอ่านและเข้าใจโน็ตดนตรีเป็นอย่างดี รวมถึงการอ่านจังหวะและสัญลักษณ์ทางดนตรีต่าง ๆ และที่สำคัญราคาในการเรียนค่อนข้างสูง ทำให้คนทั่ว ๆ ไปอาจไม่สามารถจะไปเรียนได้ (ผมก็อยู่ในกลุ่มนั้น)
                    ยังมีอีกสไตล์ที่ผมขอกล่าวรวมอยู่ในสไตล์คลาสสิก คือ สไตล์ฟลาเมนโก้เพราะค่อนข้างใกล้เคียงกันต่างกันที่สไตล์การเล่น ซึ่งเป็นแบบดั้งเดิมที่มีกำเนิดจากในสเปนจะมีรูปแบบการเล่นสำเนียงเฉพาะตัวเช่นการดีดแบบ rasgueado (จะอธิบายในส่วนของการเล่นเทคนิคอีกที) ซึ่งค่อนข้างโดดเด่นมากสำหรับฟลาเมนโก้สไตล์ ซึ่งสไตล์นี้มีจังหวะค่อนข้างจะสนุกสนาน และใช้ประกอบกับการเต้นรำอย่างที่เราเคยเห็นใน TV เกี่ยวกับสเปน ตัวอย่างเช่น paco de lucia เป็นต้น
                    2. แนวโฟล์ค คันทรี เกิดจากการเผยแพร่การเล่นกีตาร์ไปสู่คนผิวดำที่เป็นทาส และพัฒนารูปแบบไปเรื่อย ๆ ในหมู่ชาวบ้านสามัญชนทั่วไป ซึ่งมักจะเป็นกสิกร หรือ ทำฟาร์ม และเล่นในยามพักผ่อนจากการทำงานเพลงจึงมีลักษณะที่เรียบง่ายสบาย ๆ จังหวะสนุกสนานเล่าถึงวิถีชีวิตชาวบ้านอาจจะแบ่งได้เป็น
                    - บลูกล๊าสสไตล์ เป็นดนตรีพื้นบ้านมักมีการเล่นร่วมกับ แบนโจ ไวโอลิน แมนโดลิน ใช้กีตาร์ตัวนึงเป็นริทึ่ม อีกตัวใช้โซโล จังหวะสนุกสนาน เป็นเพลงบรรเลง หรือมีคนร้องด้วย
                    - ปิ๊คกิ้งสไตล์ คือการเกาหรือเล่นกีตาร์ด้วยนิ้วนั่นเองอาจจะเล่นตัวเดียวหรือ 2 ตัวประสานกัน มีความละเอียดในการเล่นมากพอสมควรเล่นค่อนข้างยาก ต่างกับบลูกล๊าสที่มักใช้ปิคมากกว่าเช่น Simaon & Garfunkel เป็นต้น
                    - โฟล์คสไตล์ เป็นดนตรีพื้นบ้านที่มีการเล่นที่อาจจะเป็นการเกากีตาร์ การใช้ปิคดีด การเล่นประสานกันตั้งแต่ 2ตัวขึ้นไป มีการร้องประสานเสียงกันส่วนมากจะกล่าวถึงชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันทั่วไป เช่น peter paul & mary
                    จริงแล้วทั้ง หมดรวมเรียกว่าเป็นสไตล์โฟล์ค ซึ่งผมก็ไม่แน่ใจในความแตกต่างกันมากนักเท่าที่ผมได้รู้มานั้น ส่วนใหญ่บลูกล๊าสจะเป็นเพลงบรรเลง และฟิงเกอร์สไตล์ด้วยเช่นกัน แต่บางครั้งก็มีการร้องประกอบด้วย

                    3. บลูส์สไตล์ กำเนิดจากชนผิวดำที่เป็นทาสได้รับเอาเครื่องดนตรีชนิดนี้มากและพัฒนาเข้ากับดนตรีแบบของเขา ซึ่งส่วนใหญ่ในยุคแรกจะเป็นเพลงที่เศร้าเนื่องจากบรรยายถึงความเหนื่อยยากที่เป็นทาส และดนตรีบลูส์นี้เองเป็นพื้นฐานที่สำคัญของดนตรีอีกหลายประเภทเหลือเกินตั้งแต่ แจ๊ส โฟล์ค รวมไปถึงร็อคอีกด้วย สามารถแบ่งคร่าว ๆ เป็น
                    - อาคูสติกบลูส์ คือใช้กีตาร์โปร่งเล่นนั่นเองซึ่งในยุคแรกก็เป็นเช่นนั้นจริง ๆ จะมีการผสมผสานระหว่างการใช้ปิค และนิ้วร่วมกันในการดีด นอกจากนี้อาจมีการใช้สไลด์เล่นอีกด้วย เช่นในชุด unplug ของ eric clapton
                    - อีเล็คทริกบลูส์ เป็นยุคหลังที่มีกีตาร์ไฟฟ้าแล้ว จึงมีการนำดนตรีบลูส์มาเล่นกับกีตาร์ไฟฟ้ามีการโซโลที่ไพเราะและหนักแน่น เช่นแบบ BB. King หรือ Robert cray
                    4. แจ๊ส เป็นอีกสไตล์ที่พัฒนามาจากบลูส์ซึ่งรายละเอียดในการเล่นจะยากขึ้นไปกว่าดนตรีบลูส์ และมีทั้งแบบอาคูสติกและิเล็คทริกเช่นกัน เช่น Larry Carlton เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีสไตล์อื่นที่มีลักษณะของแจ๊สอยู่ พอจะยกตัวอย่าง ได้แก่
                    - Bossanova ซึ่งที่ดังมากได้แก่ Antonio Calos Jobim กับเพลง Girl from ipanema เป็นต้น
                    - Samba หรือ สไตล์ประจำของบราซิล ซึงมีโครงสร้างคล้ายกับดนตรีแจ๊สเช่นกัน
                    5. ป๊อปสไตล์ ก็คือสไตล์ที่เล่นกับเพลงป๊อปหรือเพลงทั่ว ๆ ไป
                    6. ร็อคสไตล์ มีการพัฒนามาจากบลูส์เช่นกันมีความหนักแน่นในจังหวะและท่วงทำนอง และมีการเล่นที่น่าสนใจทั้งการโซโล ที่มีลูกเล่นเทคนิคมากมาย การปรับแต่งเสียงของกีตาร์ การใช้เอฟเฟ็คต่าง ๆ จึงเป็นที่นิยมและคลั่งไคล้ของกลุ่มวัยรุ่น อยากเก่งเหมือนนักกีตาร์ร็อคดัง ๆ ซึ่งร็อคอาจแบ่งไดเป็น
                    - บลูส์ร็อค เป็นการผสมระหว่างเพลงบลูส์กับร็อคเช่นแบบ Gary Moore หรือ Stevie ray Vaughan เป็นต้น
                    - โฟล์คร็อค มีการผสมผสานกันของเพลงโฟล์คกับร็อค เช่น Eagles เป็นต้น
                    - นีโอคลาสสิก เป็นการนำเอารูปแบบของดนตรีคลาสสิกมาผสมผสานกับดนตรีร็อค ซึ่งตอนนี้เป็นที่สนใจอย่างมาก ผู้ที่บุกเบิกทางนี้ได้แก่ Randy Rhoad ซึ่งเสียชีวิตไปแล้วแต่ปัจจุบันคุณจะรู้จัก นีโอคลาสสิก กับ Yngwie Malmsteen หรือ Vinnie Moore เป็นต้น
                    - เฮฟวี่เมทัล พัฒนาไปจากดนตรีร็อคมีความหนักหน่วงขึ้นเช่น Metallica , Megadeath เป็นต้น
                    นอกจากนี้ยังมีแนว Progressive rock เช่นแบบของ Dream thearter หรือแนว Alternative ที่มี Nirvana เป็นผู้สร้างชื่อเสียงเป็นต้น หรือแนวอื่น ๆ อีกเช่น แนว Funk , reggae หรือแนว death metal เป็นต้น
                    สำหรับสไตล์ที่ผมถนัดและทำโฮมเพจนี้ขึ้นมาคือจะพยายามยามเน้นไปทางการเล่นในแบบฟิงเกอร์สไตล์ซึ่งได้นำไปเล่นกับเพลงหลากหลายแนวเพลงทั้งแบบโฟล์ค คันทรี่ บลูกราส บลูส์ แจ๊ส ซึ่งนับว่าเป็นสไตล์การเล่นกีตาร์ที่น่าสนใจมากครับสามารถนำไปประยุกต์เล่นกับเพลงได้หลากหลายแนวเพลง
                    ที่ผมได้กล่าวถึงสไตล์การเล่นแบบต่าง ๆ ในตอนนี้เพื่อให้เพื่อน ๆ ได้ลองนึกดูซิว่าเราชอบในแบบไหนหรือสนใจสไตล์ไหนเป็นพิเศษ แต่แน่นอนครับไม่ว่าคุณจะสนใจสไตล์ไหนก็ตามเราก็ต้องรู้พื้นฐานของมันก่อนทั้งนั้นซึ่งเมื่อคุณรู้พื้นฐานแล้วคุณสามารถที่จะไปศึกษาหาความรู้ต่อไปได้อย่างไม่ยากเย็นนัก เช่นเดียวกับเมื่อคุณถีบจักรยานเป็นก็ไม่ยากนักที่จะหัดมอเตอร์ไซด์ หรือขับรถเกียร์ธรรมดาเป็น ก็ขับเกียร์ออโต้ได้ไม่ยากเย็นนักหรอกครับ